เกี่ยวกับเรา

ธุรกิจซอฟต์แวร์ก่อตั้งจากผู้ชำนาญการด้าน ICT เป็นส่วนใหญ่ที่ใช้เงินทุนส่วนตัวอันจำกัดต่างจากธุรกิจอื่นซึ่งมักจะก่อตั้งจากกลุ่มนายทุนที่มีทรัพยากรเพียงพอในการดำเนินการอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จึงประกอบด้วยธุรกิจขนาดเล็กมากมายที่ขาดปัจจัยด้านเงินทุนสนับสนุน การขาดเงินทุนสนับสนุนทำให้ไม่สามารถลงทุนพัฒนาองค์ความรู้ที่ทันสมัยและต่อเนื่อง ไม่มีเงินทุนทำวิจัยและพัฒนาสินค้าซอฟแวร์ที่มีคุณภาพ นี่คือสภาพของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยก่อนมีสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือSoftware Industry Promotion Agency (Public Organization) หรือ SIPAเป้าหมายหลักของ SIPA คือสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้แข่งขันในตลาดโลกได้ แต่ภารกิจแรกจะต้องแก้ไขปัญหาที่กล่าวข้างต้นก่อนที่ไทยจะพร้อมเข้าสู่ตลาดซอฟต์แวร์โลก ยุคแรกของการส่งเสริมจึงเน้นด้านการช่วยเหลือภาคเอกชนลงทุน เพื่อปรับปรุงทักษะด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์แผนใหม่ และพัฒนาด้านคุณภาพ โดยยึดมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพทั้งระดับบุคคลและองค์กร
การส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับซอร์ฟแวร์ของสำนักงาน เป็นการรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้เจ้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการซอร์ฟแวร์ ให้รู้จักหวงแหนและพิทักษ์รักษาสิทธ์ของตนเอง และการสร้างจิตสำนึกให้ผู้ใช้เคารพสิทธิ์ของผู้อื่น ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และไม่สนับสนุนสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอันจะเป็นการป้องกันการละเมิดตั้งแต่ต้นทางและจะส่งผลให้เกิดการละเมิดลดน้อยลงในอนาคต พร้อมทั้งกระตุ้นให้เจ้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการซอร์ฟแวร์ ที่มีทรัพย์สินทางปัญญาได้มีการจดแจ้งลิขสิทธิ์ของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการซอร์ฟแวร์มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการคุ้มรองทรัพย์สินทางปัญญา ผลิตภัณฑ์หรือบริการซอร์ฟแวร์ ที่ตนได้พัฒนา คิดค้นขึ้น จนนำไปสู่การจดแจ้งทรัพย์สินทางปัญญา ผลิตภัณฑ์หรือบริการซอร์ฟแวร์ และเพื่อสร้างกระบวนการในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทซอร์ฟแวร์อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือบริการซอร์ฟแวร์ในอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์ และผลกระทบในเชิงพาณิชย์ภาพรวมของประเทศ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เนื้อหาสาระที่ปรากฏอยู่ในคู่มือฉบับนี้ คงเป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจธุรกิจซอร์ฟแวร์ และอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์ ตลอดจนนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป