ทำได้ทั้ง 2 วิธี โดยมีข้อแตกต่างดังนี้
(1) กรณียื่นคำขอใหม่
(2) ยื่นรวมกันเป็น 1 คำขอ โดยระบุแผนการลงทุนเครื่องจักรสำหรับชิ้นส่วนและสินค้าสำเร็จรูปโดยชัดเจน ซึ่ง BOI อาจกำหนดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรออกเป็นช่วง มีกำหนดช่วงละ 30 เดือน ตามแผนการลงทุนของบริษัทก็ได้ แต่การใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้ของโครงการเท่านั้น (ไม่สามารถแยกนับเป็นช่วงๆ ตามรายได้ของการผลิตชิ้นส่วนหรือรายได้จากการผลิตสินค้าสำเร็จรูปได้)
- - จะต้องมีการลงทุนเครื่องจักรส่วนใหม่เพิ่มเติมโดยชัดเจน ซึ่งต้องไม่เป็นการใช้เครื่องจักรหลักร่วมกันกับโครงการเดิม
- - กำลังผลิตของคำขอใหม่ จะคำนวณจากเครื่องจักรใหม่ที่ลงทุนเพิ่มเติม
- - จะออกบัตรส่งเสริมฉบับใหม่โดยได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ ณ วันที่ยื่นคำขอใหม่
- - จะต้องแยกควบคุมการใช้สิทธิประโยชน์ในส่วนนี้ แยกจากสิทธิประโยชน์ของโครงการเดิม
- - จะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการก่อนที่โครงการเดิมจะเปิดดำเนินการครบตามโครงการ
- - จะต้องเพิ่มกำลังผลิตไม่เกิน 30% ของบัตรส่งเสริมเดิม เว้นแต่การยื่นขอส่งเสริมเป็นโครงการใหม่จะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกันกับโครงการที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิม
- - จะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ของโครงการเดิม
- - จะไม่ออกบัตรส่งเสริมฉบับใหม่ให้ โดยจะเป็นการแก้ไขบัตรส่งเสริมฉบับเดิม
กำหนดตามขนาดของโครงการ ดังนี้
ขนาดโครงการ กำหนดเสร็จ - กิจการซอฟต์แวร์ทุกขนาดกิจการ หรือกิจการไม่เกิน 40 ล้านบาทและไม่มีประเด็นเชิงนโยบาย 15 วันทำการ - ไม่เกิน 80 ล้านบาท และไม่มีประเด็นเชิงนโยบาย 30 วันทำการ - ไม่เกิน 200 ล้านบาท 40 วันทำการ - 200-750 ล้านบาท หรือเกิน 750 ล้านบาทแต่ส่งออกเป็นส่วนใหญ่ 60 วันทำการ - เกิน 750 ล้านบาท และจำหน่ายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ 90 วันทำการ
ได้ แต่ทั้งนี้ แต่ละโครงการจะต้องมีการลงทุนใหม่เกิดขึ้นจริง และต้องไม่ใช้เครื่องจักรหลักร่วมกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติเป็นกรณีไป
ไม่ได้ ยกเว้นใน 2 กรณี ดังนี้
(1) เป็นการยื่นคำขอโยกย้ายสถานประกอบการ (Click ที่นี่) เพื่อดูรายละเอียด
(2) เป็นการยื่นคำขอตามนโยบายให้การส่งเสริมกิจการที่ประกอบการอยู่เดิม (Click ที่นี่) เพื่อดูรายละเอียด
ได้ แต่ทั้งนี้ แต่ละโครงการจะต้องมีการลงทุนใหม่เกิดขึ้นจริง และต้องไม่ใช้เครื่องจักรหลักร่วมกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติเป็นกรณีไป
ยื่นได้ 2 วิธี คือ
(1) แยกเป็น 2 คำขอ โดยยื่นคำขอที่ 1 เพื่อผลิตชิ้นส่วนก่อน และหลังจากนั้นเมื่อพร้อมที่จะลงทุนสำหรับการผลิตสินค้าสำเร็จรูป จึงยื่นคำขอที่ 2 เพื่อผลิตสินค้าสำเร็จรูปในภายหลัง
(2) ยื่นรวมกันเป็น 1 คำขอ โดยระบุแผนการลงทุนเครื่องจักรสำหรับชิ้นส่วนและสินค้าสำเร็จรูปโดยชัดเจน ซึ่ง BOI อาจกำหนดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรออกเป็นช่วง มีกำหนดช่วงละ 30 เดือน ตามแผนการลงทุนของบริษัทก็ได้ แต่การใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้ของโครงการเท่านั้น (ไม่สามารถแยกนับเป็นช่วงๆ ตามรายได้ของการผลิตชิ้นส่วนหรือรายได้จากการผลิตสินค้าสำเร็จรูปได้)
สามารถยื่นได้ที่
(1) กรณีที่ยื่นคำขอ Online
(2) กรณีที่ยื่นเอกสาร
- - ยื่นคำขอผ่านระบบ Internet แต่ในวันนัดหมายชี้แจงโครงการ จะต้องนำคำขอรับการส่งเสริมต้นฉบับ 1 ชุดที่มีลายเซ็นผู้ขอรับการส่งเสริม มายื่นต่อ BOI เพื่อลงทะเบียนรับคำขอ
- - ยื่นคำขอจำนวน 2 ชุด ที่กองบริหารสิทธิและประโยชน์ที่ 1-5 ซึ่งเป็นกองผู้พิจารณาประเภทกิจการตามคำขอนั้นๆ หรือ
- - ยื่นผ่านสำนักงาน BOI ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ
ได้ แต่มีข้อควรระวังดังนี้
(1) จะเป็นบุคคลไทยหรือบุคคลต่างชาติก็ได้ แต่ต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ และสามารถกระทำนิติกรรมได้ตามกฎหมาย
(2) ภายหลังจากได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในนามบุคคล จะต้องจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่เพื่อขอรับบัตรส่งเสริม จะนำบริษัทที่จัดตั้งอยู่แล้วมาขอรับบัตรส่งเสริมแทนไม่ได้
ศึกษาได้จาก คู่มือการกรอกคำขอรับการส่งเสริม หรือ ปรึกษาที่ศูนย์บริการลงทุนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ควรโทรศัพท์นัดหมายกับเจ้าหน้าที่ก่อน
มี 3 ประเภท คือ
(1) คำขอรับการส่งเสริมสำหรับกิจการทั่วไป
(2) คำขอรับการส่งเสริมสำหรับกิจการซอฟต์แวร์
(3) คำขอรับการส่งเสริมสำหรับกิจการบริการ
รับได้จาก
(1) ศูนย์บริการลงทุน (โทร 02-553-8111)
(2) สำนักงาน BOI ในต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ
(3) Download จาก เว็บไซต์ของ BOI
ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
15 – 40 วันทำการ
ต้องจัดเตรียมเป็น PowerPoint เนื้อหาดังนี้
(1) ที่มาของโครงการที่จะขอรับการส่งเสริม (BOI Project) เหตุผลในการขอรับฯ BOI, ประวัติของผู้ขอฯ และทีมซอฟต์แวร์
(2) ยกตัวอย่าง Software ที่จะขอรับการส่งเสริม ตัวอย่างระบบซอฟต์แวร์ที่จะพัฒนา เช่น
(ชื่อโปรแกรม............................)
ผลิตภัณฑ์ที่ 1 …………………………… เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับ…………………………… ใส่รูปตัวอย่าง Pint screen หน้าจอซอฟต์แวร์
ผลิตภัณฑ์ที่ 2
(3) อธิบายกระบวนการผลิตของแต่ละประเภท Software ใส่ software tools ในแต่ละขั้นตอน ( ทำเป็น flow chart )
Download แบบฟอรม์จาก Website www.boi.go.th กิจการซอฟต์แวร์ ประเภท 5.8 และ Download ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ป. 1/2545 ลงวันที่ 28 มกราคม 2545 เรื่อง การกำหนดความหมายรายการเงินลงทุน เพื่อเตรียมกรอกใบคำขอฯ คำอธิบายเพื่อช่วยกรอกใบคำขอฯ
ขนาดการลงทุนขั้นต่ำ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ไม่รวมที่ดิน และเงินทุนหมุนเวียน (ขนาดการลงทุนนี้ ไม่ใช่ทุนจดทะเบียน)
กิจการซอฟต์แวร์ที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ ประกอบด้วย 3 ประเภท
(1) Enterprise Software
(2) Digital Content
(3) Embedded Software
ผู้ขอรับการส่งเสริมต้องอยู่ใน 3 ประเภท ต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ ขอในนามบุคคล
(2) จัดตั้งบริษัทขึ้นแล้ว (แต่ยังไม่มีรายได้)
(3) เป็นบริษัทที่ขยายกิจการ (จัดตั้งบริษัทแล้ว / มีรายได้แล้ว)
ซอฟต์แวร์ที่จะขอรับการส่งเสริมฯ จะต้องยังไม่มีการจำหน่ายมาก่อน และพัฒนาขึ้นใหม่เท่านั้น โดยทีมพัฒนาของบริษัทเอง